3 ขั้นตอนทวงคืนเวลาในชีวิต จากหนังสือ Digital Minimalism ของผู้เขียน Deep Work

ในช่วงนี้ ชีวิตผมมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ความรับผิดชอบในการทำงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้องหาความรู้ที่มากกว่าเดิม บ้านที่กำลังสร้างอยู่ซึ่งต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ทำให้ต้องคอยไปดูหน้างานอยู่บ่อยครั้ง และล่าสุด ลูกสาวผู้น่ารัก ที่เข้ามาทำให้ชีวิตมีสีสัน ทำให้เราอยากจะเล่นอยากจะใช้เวลากับเค้าอยู่ตลอด ทีนี้ จะทำยังไงดีให้เราสามารถมีเวลาในการทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้มากขึ้น
คำตอบที่ง่ายที่สุดก็คือ “ถ้าเรามีเวลามากกว่านี้ เราก็คงทำได้” แต่ทุกคนมีเวลาเท่ากันในแต่ละวัน จะไปหาเวลามาเพิ่มได้ยังไง พอคิดได้เช่นนี้ ก็รู้สึกคอตก หมดกำลังใจ ก้มหน้าไปเห็นมือขวา ที่กำอุปกรณ์สี่เหลี่ยมชิ้นหนึ่ง ในขณะที่นิ้วโป้ง ก็ไถหน้าจอของอุปกรณ์นั้นไปโดยไม่รู้ตัว ทันใดนั้นผมก็ค้นพบว่า
มันมีเวลาอยู่ก้อนหนึ่ง ที่ผมสามารถเอาคืนมาได้
มันคือเวลาที่ผมใช้ไปกับการไถ Facebook อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เวลาที่ผมกดเลื่อนขวาไล่ดู story instagram ไปเรื่อยๆ เวลาที่ผมเลื่อนนิ้วลงเพื่อ refresh ดู top trends ของ twitter ว่าวันนี้เขาคุยกันเรื่องอะไรนะ
เวลาเหล่านี้แหละ ที่ผมรู้สึกว่า ผมสามารถทวงคืนกลับมาได้ และเอาไปใช้ทำอะไรที่มีคุณค่ากับชีวิตผมมากกว่า
(Disclaimer: คุณค่าในชีวิตแต่ละคนไม่เหมือนกัน ผมไม่ได้มาตัดสินว่าควรจะใช้เวลาอย่างไรถึงจะมีคุณค่า แค่บอกว่าผมมีอย่างอื่นที่ผมให้ความสำคัญกว่าที่ต้องให้เวลาเท่านั้นเอง)
นำมาสู่เป้าหมายในการจัดการตัวเอง เพื่อให้ตัวเองใช้เวลากับ Technology ที่ไม่จำเป็นน้อยลง ซึ่งผมเคยทำได้มาแล้วรอบหนึ่ง และตอนนี้ผมก็จะเริ่มทำมันอีกครั้ง
ผมก็เลยเดินไปที่ตู้หนังสือ แล้วหยิบหนังสือเล่มเล็กๆ ความยาวร้อยกว่าหน้า มาปัดฝุ่นอ่านใหม่ หนังสือเล่มนั้นมีชื่อว่า

หนังสือเล่มนี้ เขียนโดยผู้เขียนเดียวกับหนังสือ Deep Work ที่โด่งดัง ผมขอเรียกว่าเป็นฉบับ Extension ของหนังสือ Deep Work ที่พูดถึงปรัชญาการใช้ชีวิตแบบใช้ Technology เฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น อาจจะเรียกได้ว่า หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือประเภท “ชีวิตดีทุกด้าน ด้วยการจัดการ Technology แค่ครั้งเดียว” (ไม่คล้องจองเอาซะเลย) ดังเช่นที่เขียนไว้ที่หน้าปกหนังสือว่าผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เปรียบเสมือน มาริเอะ คนโด ของโลก เทคโนโลยี
ปูเรื่องมาเนิ่นนาน แค่อยากเล่าว่า ในหนังสือเล่มนี้ มี Concept หนึ่งที่ชื่อว่า
Digital Declutter
ซึ่งเป็นการจัดการความวุ่นวายของการใช้ Technology ในชีวิต แล้วเอาเวลาไปทำอย่างอื่น แนวคิดของหลักการนี้แสนจะเรียบง่าย คือให้เราหาเวลา 30 วัน เลิกใช้ Technology แล้วไปทำอย่างอื่นซะ เมื่อครบ 30 วันค่อยๆ เลือกเอา Tech (หลังจากนี้จะย่อว่า Tech แล้วนะครับ) ที่จำเป็นกลับเข้ามา
พูดง่ายๆ ว่าเป็นการบำบัดอาการเสพติด Technology ด้วยการหักดิบนั่นเอง
ขั้นตอนการบำบัด ก็มีด้วยกัน 3 ขั้นตอนง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก
ขั้นตอนที่ 1 สร้างกฎการใช้ Technology ขึ้น
ขั้นตอนนี้เริ่มง่ายๆ ด้วยการ list Tech ที่เราใช้ในชีวิตทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Social Media (Facebook, Instagram, TikTok, Twitter, etc.) Video Streaming (Netflix, Disney+, Amazon Prime, etc.), Messaging App (LINE, FB Messenger, etc.) เกม (Nintendo Switch, Play Station, etc.)
หลังจาก list ได้แล้ว ให้เลือกว่า อันไหนที่เป็น Optional บ้าง หรือไม่จำเป็นต้องใช้นั่นแหละ อาจจะถามด้วยคำถามง่ายๆ ว่า ถ้าไม่มี Tech นี้แล้ว จะทำชีวิตของเรา ไม่ว่าจะเรื่องทำงาน หรือเรื่องส่วนตัว ยากขึ้นหรือเปล่า ถ้าคำตอบคือ “ใช่” ก็ให้ทดเอาไว้ ว่าเป็นรายการที่จำเป็น ส่วนที่เหลือให้ถือว่าเป็นของไม่จำเป็นทั้งหมด ซึ่งกฎของเราก็คือ เราจะหยุดใช้ Tech ในกลุ่ม “ไม่จำเป็น” เป็นเวลา 30 วัน
หรือถ้าคิดว่าจำเป็นต้องใช้จริงๆ ก็ให้สร้างกฎขึ้นมาว่า จะใช้ Tech นั้นเมื่อไหร่ อย่างของผม พวก Line หรือ FB Messenger ผมยังใช้ในการทำงานอยู่ ก็จะอยู่ในหมวดจำเป็น ส่วน Netflix, Disney+ ผมจะใช้เงื่อนไขว่า จะดูก็ต่อเมื่อ ดูกับครอบครัว หรือดูตอนออกกำลังกายเท่านั้น หรืออย่าง Facebook ผมจะใช้ก็ต่อเมื่อต้องโพส หรือแชร์ความรู้ของ Skooldio บน Computer เท่านั้น ส่วน Mobile App ผมก็ลบไปพร้อมๆ กับ App อื่นที่อยู่ในหมวด “ไม่จำเป็น”
ขั้นตอนที่ 2 หักดิบเลิกใช้ไปเลยสัก 30 วัน
ขั้นตอนนี้ไม่มีอะไรมาก แค่ทำตามกฎที่ตั้งไว้ในขั้นตอนแรก อะไรที่ไม่จำเป็น ก็ลบออกจากโทรศัพท์ หรือถ้าเป็นพวกเกม ก็เก็บใส่ตู้ หรือฝากใครไว้ก่อนเลย อีก 30 วันเจอกัน บาง App ถ้าต้องมีติดเครื่อง ก็เตือนตัวเองด้วยกฎที่ตั้งไว้อยู่เสมอ ว่าจะใช้เมื่อไหร่
แน่นอนว่า ช่วงแรกๆ จะรู้สึกฝืนๆ นิดหน่อย ไม่แปลก แต่สักพักจะเริ่มหายไปตามเวลา สัก 2–3 สัปดาห์
ณ จุดที่คุณเริ่มชินกับการไม่ใช้ Tech เหล่านั้นแล้ว คุณจะค้นพบว่า คุณมีเวลาเพิ่มมาเพื่อไปทำอะไรหลายๆ อย่างได้มากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากๆๆๆๆ ของขั้นตอนนี้ ไม่ใช่ว่าเราจะไม่ใช้ Tech เหล่านั้นแล้วอยู่เฉยๆ
ให้เราหาอะไรที่เราคิดว่ามีคุณค่าสำหรับตัวเราเองทำ
เพื่อให้เราเห็นว่า เวลาที่เราได้คืนมา มีค่าแค่ไหน และทำให้ตอนที่เราค่อยๆ เอา Tech เหล่านี้กลับมาหลังจากจบ 30 วันแล้ว เราจะเลือกอย่างมีสติมากขึ้น
ขั้นตอนที่ 3 ค่อยๆ เอา Technology เหล่านั้นกลับมาในชีวิตอย่างมีสติ
ขั้นตอนนี้ ในหนังสือแนะนำว่า ห้าม เอา Tech ทุกอย่างกลับเข้ามาในชีวิตทั้งหมดทีเดียว เพราะสุดท้ายมันจะไม่เวิร์ค ผมว่ามันเหมือนกับเรา Diet อดอาหารไป แล้วพอผ่านช่วงที่อดมา เราก็มักจะกินแหลก มี Cheat Day เรื่อยๆ สุดท้ายก็เกิด Yoyo Effect ที่น้ำหนักเรากลับมาด้วยความรวดเร็ว และอาจจะมากกว่าเดิม ซึ่งการ Declutter นี้ก็เช่นกัน
แน่นอนว่า Cal Newport ได้แนะนำวิธีการในการเลือก “Tech ที่ไม่จำเป็นในชีวิต ให้กลับเข้ามาในชีวิต” ด้วยการถามคำถาม 3 ข้อต่อไปนี้ กับ Tech ที่อยู่ตรงหน้าคุณ
- Tech ที่อยู่ตรงหน้านี้ ช่วยให้เราทำสิ่งที่มีคุณค่าในชีวิตของเราได้หรือเปล่า
เช่น ถ้าคุณให้ value กับครอบครัว การใช้ Instagram โพสรูปลูกในคนที่บ้านดู ก็นับได้ว่าเป็น Tech ที่ช่วยให้เราทำสิ่งที่มีคุณค่าในชีวิต - มีอย่างอื่น ที่ช่วยให้คุณทำสิ่งที่มีคุณค่าเดียวกันนี้ ที่ไม่ใช่ Tech ที่อยู่ตรงหน้าอีกหรือเปล่า
ถ้ามีวิธีอื่นที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือนี้ แต่ให้คุณค่าแบบเดียวกัน เขาก็แนะนำให้แทนที่ด้วยวิธีอื่น หรือเครื่องมืออื่น แล้วเลิกใช้ Tech นั้นไปดีกว่า (เป็นไง โหดจัดๆ) อย่างการโพสรูปลูก เราก็อาจจะโพสไว้ใน Line Group ของครอบครัวก็พอแล้ว Instagram ก็จะไม่จำเป็นอีกต่อไป - ถ้าจำเป็นต้องใช้ Tech เหล่านั้น ก็ให้กำหนดกฎกับตัวเองว่า เราจะใช้ Tech ตรงหน้านี้เมื่อไหร่ และใช้อย่างไร
ทั้งหมดนี้ ก็เป็นส่วนเล็กๆ น้อยๆ จากหนังสือเล่มนี้ เอาไปลองทำลองใช้กันได้นะครับ ผมเคยลองทำไปรอบนึงแล้ว บอกได้เลยว่าเกิดประโยชน์กับตัวเองมาก แล้วก็ตั้งใจว่าจะลองทำอีกรอบ เพื่อทวงคืนเวลาที่หายไป ให้กับตัวเอง เพื่อเอาไปใช้กับครอบครัว ใช้ในการพัฒนาตัวเอง และทำให้สามารถ Focus กับการทำงานได้มากขึ้น
เผื่อใครสนใจหนังสือเล่มนี้ สามารถสั่งซื้อได้ที่